วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561
ประวัติภาษาอังกฤษ
ประวัติความเป็นมาของภาษาอังฤษ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเจอร์แมนิคตะวันตก ที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรแองโกลแซกซอนของอังกฤษและแพร่กระจายเข้าไปในดินแดนซึ่งปัจจุบันคือสก็อตแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรยุคกลางของเผ่านอร์ธัมเบรีย
ซึ่งนอกจากภาษาแล้วยังมีเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม ซึ่งแผ่กระจายออกไปในยุคล่าอาณานิคมอังกฤษช่วงในช่วงศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายออกไปทั่วโลกและเป็นภาษาที่สื่อสารกันทั่วโลก ซึ่งหลายๆประเทศก็เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง และในสหภาพยุโรปเองก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ รวมทั้งประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษด้วย ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารมากที่สุดในโลกเป็นอันดับสาม รองจากจีนกลางและสเปน
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเจอร์แมนิคตะวันตก (West Germanic Language) ที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาถิ่นแซกซอนโบราณและแองโกลฟริเชียน (Anglo-Frisian) ซึ่งถูกนำเข้ามายังดินแดนอังกฤษโดยชาวเจอร์แมนิค ที่ตั้งรกรากกระจัดกระจายในดินแดนเยอมันนีตะวันตก เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน ว่ากันว่าดินแดนอังกฤษที่ยึดครองโดยโรมันนั้น ผู้คนใช้ภาษาเซลติค (Celtic language) เป็นภาษาสื่อสารซึ่งไดัรับอิทธิพลจากภาษาลาติน นับรวมเป็นเวลา 400 ปีในการยึดครอง
หนึ่งในเผ่าเจอร์แมนิคคือ ชาวแองเกิ้ลส (Angles) ซึ่งบาทหลวง บีด (Bede) เชื่อว่าตั้งถิ่นฐานทั่วไปในดินแดนอังกฤษ คำว่า England (มาจากคำว่า Engla Land) แปลว่าดินแดนของชาวแองเกิลส์ และคำว่า English มาจากชื่อของเผ่านี้
เดิมทีภาษาอังกฤษโบราณเกิดจากการผสมปนเปกันของภาษาถิ่นในราชอาณาจักรแองโกลแซกซอนของอังกฤษ แต่ภาษาอังกฤษก็ได้รับอิทธิพลจากการรุกราน 2 ครั้งด้วยกันคือ ครั้งแรกจากการรุกรานของชนเผ่าที่พูดภาษาเจอร์แมนิคเหนือ (North Germanic Language) และยึดครองดินแดนตอนเหนือของเกาะอังกฤษในศตวรรษที่ 8 และ 9 ครั้งที่สองโดยชาวนอร์แมนโบราณ (Old Norman) ที่พูดภาษาโรมานซ์ (Romance Language) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนแองโกลนอร์แมน และ แองโกลเฟร็นช (Anglo-French) สองเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่อาศัยการยืมคำมากกว่าที่จะสร้างคำใหม่
ภาษาอังกฤษยุคใหม่ (Modern English) นับจากปี 1550 เมื่ออังกฤษกลายเป็นนักล่าอาณานิคม ภาษาอังกฤษก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการสื่อสารในประเทศภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ถึงแม้ว่าในระยะหลังๆ ที่ประเทศเหล่านั้นเป็นประเทศอิสระแล้วก็ตาม แต่ภาษาอังกฤษก็ยังคงเป็นภาษาราชการอยู่ เช่น อินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น
เนื่องจากการหลอมรวมหลายๆภาษาในยุโรป และผ่านหลายยุคหลายสมัยนี่เอง ทำให้ภาษาอังกฤษมีคำศัพท์มากเกินกว่า 250,000 คำ โดยไม่รวมศัพท์เทคนิค หรือศัพท์แสลง
อ้างอิง
วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561
คำศัพท์สไตล์ UK & US
เขียนต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน
เชื่อว่าปัญหาหนึ่งในการเรียนภาษาอังกฤษของเพื่อนๆก็คือ การที่ภาษาอังกฤษนั้นมีสองแบบ นั่นก็คือ British English และ American English ซึ่งเพื่อนๆหลายคนก็งงกับคำศัพท์ และสำเนียงที่ไม่เหมือนกันนี้ทำให้ภาษาอังกฤษนั้นยากไปอีกเท่าตัว วันนี้เราเลยยกตัวอย่าง 100 คำศัพท์สไตล์บริติชและอเมริกัน ที่ต่างกันแต่ความหมายเหมือนกัน
American English | British English | คำแปล |
alumnus | graduate | ผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว |
antenna | aerial | เสาอากาศ |
anyplace | anywhere | ทุกแห่ง |
attorney | barrister, solicitor | ทนายความ |
baby carriage | pram | รถเข็นเด็ก |
baggage | luggage | หีบห่อ |
bar | pub | ร้านเหล้า |
bill | bank note | ธนบัตร |
billboard | hoarding | ป้ายโฆษณา |
blow-out | puncture | ทุบทำลาย |
broiler | grill | ย่าง |
cab | taxi | รถยนต์รับจ้าง |
can | tin | กระป๋อง |
candy | sweets | ลูกกวาด |
checker | draught | หมากรุก |
closet | wardrobe | ตู้เสื้อผ้า |
collect call | reverse charge | โทรศัพท์แบบเรียกเก็บเงินปลายทาง |
cookie | biscuit | ขนมปังกรอบ |
corn | maize | ข้าวโพด |
crazy | mad | บ้าคลั่ง |
crib | cot | โรงเลี้ยงสัตว์ |
cuff | turn up | ปลายขากางเกง |
dessert | sweet | ของหวาน |
diaper | nappy | ผ้าอ้อม |
dish-towel | tea-towel | ผ้าเช็ดจานช้อนถ้วย |
divided highway | dual carriageway | ถนน 2 ฝั่ง ที่มีเกาะกลางถนน |
drape | curtain | ผ้าม่าน |
drug store | chemist’s | ร้านขายยา |
elevator | lift | ลิฟท์ |
engineer (train) | engine driver | คนขับรถไฟ |
eraser | rubber | ยางลบ |
faculty | staff (of a university) | เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย |
fall | autumn | ฤดูใบไม้ร่วง |
faucet | tap | ก๊อกน้ำ |
fender | wing | บังโคลนรถยนต์ |
first floor | ground floor | ชั้นล่าง |
flashlight | torch | ไฟส่องทาง |
freeway | motorway | ถนนใหญ่สำหรับรถใช้ความเร็วสูง |
french fries | chips | มันฝรั่งทอด |
garbage can | dustbin, rubbish-bin | ถังขยะ |
garbage collector | dustman | คนเก็บขยะ |
garbage, trash | rubbish | ขยะ |
gasoline | petrol | น้ำมันรถยนต์ |
gear-shift | gear-lever | เปลี่ยนเกียร์รถยนต์ |
generator | dynamo | เครื่องกำเนิดไฟฟ้า |
highway | main road | ทางหลวง |
hobo | tramp | คนจรจัด |
hood | bonnet | กระโปรงหน้ารถยนต์ |
intermission | interval | เวลาพัก |
intersection | crossroads | ทางแยก |
janitor | caretaker | ภารโรง |
kerosene | paraffin | น้ำมันก๊าด |
line | queue | แถว |
liquor store | off-license | ร้านขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ |
mad | angry | โกรธ |
post | จดหมาย | |
mailbox | postbox | กล่องใส่จดหมาย |
mailman, mail carrier | postman | บุรุษไปรษณีย์ |
math | maths | คณิตศาสตร์ |
mean | nasty, vicious | ต่ำทราม |
motor | engine | เครื่องยนต์ |
movie | film | ภาพยนตร์ |
muffler | silencer | หม้อพักของรถยนต์ |
noplace | nowhere | ไม่มีที่ไหน |
oil-pan | sump | อ่างใส่น้ำมันเครื่องยนต์ |
one-way | single (ticket) | ตั๋วโดยสารชนิดไปเที่ยวเดียว |
optometrist | optician | ช่างทำแว่นตา |
overpass | flyover | สะพานลอย |
pacifier | dummy | จุกนมปลอมสำหรับเด็ก |
pants | trousers | กางเกง |
pantyhose | tights | ถุงน่อง |
patrolman | constable | พลตำรวจ |
pavement | road surface | ผิวถนน |
peek | peep | แอบมอง |
pitcher | jug | เหยือก, คนโท |
pocket-book, purse | handbag | กระเป๋าใส่สตางค์ใบเล็กๆ |
potato chips | potato crisps | มันฝรั่งทอด |
private hospital | nursing home | บ้านพักผู้ป่วย |
railroad | railway | ทางรถไฟ |
raincoat | mackintosh | เสื้อกันฝน |
raise | rise (in salary) | ขึ้นเงินเดือน |
realtor | estate agent | นายหน้าซื้อขายที่ดิน |
restroom | public toilet | ห้องน้ำสาธารณะ |
round trip | return (ticket) | ตั๋วโดยสารชนิดไปกลับ |
rubber | condom | ถุงยางอนามัย |
rubber | wellington boot | รองเท้าบู๊ทกันน้ำ |
schedule | timetable | ตางรางสอน, ตารางเวลา |
scotch tape | sellotape | แถบยางพลาสติกมีกาวสำหรับรัดของ |
sedan | saloon (car) | รถยนต์นั่งสี่ประตู |
semester | term | ภาคการเรียน |
shorts | underpants | กางเกงขาสั้น |
shoulder (of road) | verge (of road) | ไหล่ถนน, ขอบถนน |
sick | ill | ป่วย |
sidewalk | pavement | ทางเท้า |
sneakers | gym shoes | รองเท้าผ้าใบพื้นยาง สำหรับเล่นกีฬา |
someplace | somewhere | บางที่ |
spigot | tap (outdoors) | จุกอุดรูถังน้ำ |
spool of thread | reel of cotton | หลอดม้วนด้าย |
stingy | mean | ใจแคบ, ขี้เหนียว |
store | shop | ร้าน |
antenna | aerial | เสาอากาศ |
ทำไมสำเนียงบริติชแบบบ้าน ๆ ถึงฟังยากจัง ชาวลอนดอนมาอธิบายเอง
อ้างอิง
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561
Phonics
โฟนิคส์ (Phonics) คืออะไร
โฟนิคส์ คือวิธีการเรียนอ่านเขียนและออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการถอดรหัสเสียงและการผสมเสียงตัวอักษร a ถึง z ทั้ง 26 ตัว ผู้เรียนจะต้องเข้าใจเสียงของตัวอักษรต่างๆ และออกเสียงเหล่านั้นให้ได้อย่างถูกต้องจึงจะสามารถผสมเสียงออกมาเป็นคำได้ ยกตัวอย่างเช่น การสะกดคำว่า cat ในสมัยเราๆ จะท่องกันว่า
ซี-เอ-ที แคท แมว ซึ่งยากที่จะเข้าใจว่าทำไม ซี-เอ-ที ถึงกลายเป็นแคทไปได้ เพราะการท่องแบบนี้ไม่ได้ใช้หลักการผสมเสียงแต่เป็นการท่องจำการสะกดคำเสียมากกว่าจากตัวอย่างนี้ ถ้าเรียนตามหลักโฟนิคส์ จะสอนให้รู้จักตัว “c” จากเสียงของมันคือเสียง “ค” (ออกเสียงเคอะ เบาๆ ในลำคอ) ตัว “a” เป็นเสียง “แอะ” และตัว “t” เป็นเสียง “ท” (ออกเสียง เทอะ เบาๆ ใช้ปลายลิ้นกระทบฟันหน้าบน) และผสมเสียงกันเป็น “ค-แอะ-ท แคท”
(ลองออกเสียง ค-แอะ-ท ซ้ำๆ เร็วๆ จะพบว่าสุดท้ายจะออกเสียงเป็น “แคท”) หลักการถอดรหัสเสียง และผสมเสียงแบบนี้แหละค่ะที่เรียกว่าโฟนิคส์นั่นเอง ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกผสมเสียงพยัญชนะ สระต่างๆ ที่หลากหลายจนคล่องแคล่วโดยใช้หลักโฟนิคส์นี้ค่ะ
- แล้วคำที่ไม่ได้เป็นไปตามหลักโฟนิคส์ล่ะ มีไหม หลักโฟนิคส์ใช้อ่านหรือสะกดคำต่างๆ ได้เป็นส่วนใหญ่ แต่แน่นอนค่ะมีคำบางคำที่อ่านในรูปแบบเฉพาะที่ไม่ใช่ตามหลักโฟนิคส์ ซึ่งเราจะเรียกคำเหล่านี้ว่า “คำพิเศษ” หรือ “Special words” เช่น คำว่า watch หากอ่านตามหลักโฟนิคส์อ่านว่า ว-แอะ-ท-ช แวทช แต่จริงๆ แล้วอ่านว่า วอทช เพราะตัว “a” ที่ปกติเป็นเสียง “แอะ” พออยู่ในคำนี้ออกเป็นเสียง “เอาะ” เป็นต้น ซึ่งคำพิเศษนี้เด็กๆ จะได้เจอเมื่อเขาอ่านเยอะ อ่านมาก และฝึกสังเกตคำต่างๆ หากคุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่ช่วยแนะนำด้วยเมื่อเด็กเจอคำพิเศษเหล่านี้ก็จะยิ่งดีค่ะ
- เรียนแล้วได้อะไร การเรียนโฟนิคส์จะช่วยให้เด็กๆ ออกเสียงได้ถูกต้อง ทำให้พวกเขาสื่อสารภาษาอังกฤษได้ชัดเจน และสามารถอ่านเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถสะกดคำศัพท์ต่างๆ ได้ด้วยตัวเองอย่างคล่องแคล่วจากการรู้จักเสียงของตัวอักษรและเข้าใจหลักการผสมเสียง แม้ในช่วงแรกการเรียนแบบโฟนิคส์จะดูช้ากว่าการเรียนแบบท่องจำมาก เพราะเด็กต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจเสียงและหลักการผสมคำจากง่ายไปยาก ต้องฝึกซ้ำๆ เพื่อให้จำได้ และมีบทศึกษามากมายที่ยืนยันว่าเด็กที่เรียนการอ่านเขียนแบบนี้จะสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วกว่านักเรียนทั่วไป และมีความแตกฉานทางภาษา รักการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับตัวเขาเองในอนาคต
- เรียนโฟนิคส์แล้วจะนำมาใช้ทันกับหลักสูตรแบบดั้งเดิมของโรงเรียนทั่วไปหรือเปล่า การเรียนโฟนิคส์นั้น จะเรียนแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงจะดูช้ากว่าการเรียนแบบท่องจำ เพราะเด็กๆ ไม่ว่าจะโตแค่ไหน เรียนระดับไหนก็ต้องมาเริ่มที่เสียง a b c … แล้วค่อยๆ หัดผสมเสียงจากง่ายก่อน ดังนั้น จะคาดหวังให้ใช้หลักโฟนิคส์สะกดคำยากๆ ได้เลยตามที่โรงเรียนให้การบ้านมาในช่วงแรกของการเรียนโฟนิคส์ก็อาจดูยากเกินไปสำหรับลูก เช่น ลูกเพิ่งเรียนการผสมเสียงสระตัว “a” เช่นคำว่า bat, hat, rat, mat หากจะให้สะกดคำว่า January โดยหลักโฟนิคส์เลย คงยังทำไม่ได้ แต่ในระยะยาวเมื่อลูกเรียนจบและได้มีการฝึกอ่านอย่างสม่ำเสมอ แน่นอนว่าการเรียนโฟนิคส์จะช่วยส่งเสริมให้การอ่าน การสะกดคำต่างๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น และเข้าใจหลักการออกเสียง การอ่านเขียนอย่างแท้จริง จึงมีบทวิจัยออกมาหลายสำนักว่าหลักโฟนิคส์ช่วยให้เรียนภาษาอังกฤษได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วกว่านักเรียนทั่วไปถึง 2-3 ปี
- หลักโฟนิคส์นี้เป็นการเรียนแบบใหม่ที่เพิ่งค้นพบหรือ หลักโฟนิคส์ เป็นหลักการอ่านเขียนที่เรียนกันมาตั้งแต่โบราณแล้ว แต่เมื่อราว 20-40 ปีที่ผ่านมาได้เลือนหายไป เนื่องจากมีทฤษฎีใหม่ที่บอกว่าการอ่านแบบโฟนิคส์นั้นยุ่งยาก กว่าจะแตกเสียง ผสมเสียง จนอ่านเป็นคำนั้นช้าไม่ทันใจ หันมาใช้วิธีเรียนแบบจำคำศัพท์เป็นคำๆ ที่เรียกว่า Whole Language ดีกว่าเพราะเร็วกว่ากันเยอะ โรงเรียนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย จึงเลิกสอนโฟนิคส์ไปตามๆ กัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบปีกลับพบว่าความสามารถในการอ่านเขียนของประชาชนต่ำลง เพราะคนเรานั้นจดจำคำศัพท์ได้จำกัด และการไม่รู้หลักการสะกดนั้นก็ทำให้อ่านได้ไม่คล่อง เมื่อเห็นคำยากหรือคำใหม่ที่ไม่คุ้นเคยก็ไม่อยากอ่าน ทำให้การอ่านค้นคว้าความรู้ต่างๆ ลดลงตามไปด้วย จึงมีฟื้นฟูการเรียนโฟนิคส์ให้นำกลับมาสอนอีกครั้งเพื่อให้เด็กๆ เข้าใจหลักการอ่านเขียนอย่างแท้จริง
- ผลจากการเรียนโฟนิคส์ของเด็กไทยเป็นอย่างไรบ้าง จากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมาที่เราได้นำหลักสูตรโฟนิคส์ที่เรียนด้วยความสนุกสนานเข้าสอนเด็กๆ ในโรงเรียนต่างๆ หลายพันคน ปรากฏว่าได้ผลดีมาก เด็กๆ แม้แต่ระดับอนุบาลที่ได้เรียน ก็สนุกที่จะออกเสียงตัวอักษรต่างๆ
- ภาคภูมิใจที่ผสมคำได้ด้วยตนเอง และเมื่อกลับบ้านก็ยังชอบที่จะอ่านป้าย อ่านและสะกดคำต่างๆ ตามหลักที่ได้เรียนมา จะผิดบ้างถูกบ้างก็ไม่เป็นไรแต่เขาก็สนุกที่จะลองใช้ความรู้ที่เรียนมาไปกับ
- คำรอบๆ ตัวที่หลากหลาย ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นการเริ่มต้นสร้างทัศนคติที่ดีในการออกเสียงและการอ่านเขียนตามหลักที่ถูกต้อง และจะช่วยพัฒนาการออกเสียงและการอ่านเขียนของพวกเขาอย่างมาก
- ในระยะยาว และสามารถต่อยอดไปสู่ทักษะอื่นๆ ที่สำคัญในอนาคต เช่น การเขียนเรียงความ
- เขียนบทความ การจับประเด็น จับใจความ คิดวิเคราะห์เนื้อหาอย่างเป็นเหตุผลด้วย
ดิฉันเอง ช่วงที่พัฒนาหลักสูตรโฟนิคส์สำหรับเด็กไทยนั้น ได้เดินทางไปหลายแห่งเพื่อศึกษาแนว การสอนของต่างประเทศ และได้พบโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่ยึดมั่นใช้การสอน ตามหลักโฟนิคส์มาตลอดหลายสิบปีด้วยความเชื่อมั่นและปรากฏว่านักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้สามารถ กวาดรางวัลการอ่าน การออกเสียง การเขียนเรียงความทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศได้จนมี
ชื่อเสียง ไปทั่วทำให้เชื่อได้เลยว่าหลักโฟนิคส์เป็นประโยชน์สำหรับเด็กๆ อย่างแท้จริง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)